Furniture is like a cloth to your house but Lighting is a DIAMOND to your home

 ถ้าเปรียบการแต่งบ้านเสมือนการแต่งตัว

เฟอร์นิเจอร์ก็เหมือนเสื้อผ้าที่เราขาดไม่ได้

ส่วนแสงสว่างก็เปรียบสเมือน เครื่องประดับ ที่ดึงดูดสายตาคนรอบข้าง

ส่วนมากแล้ว เจ้าของบ้านที่กำลังทำบ้านใหม่

จะสนใจสิ่งที่จับต้องได้ หรือ มองเห็น ก่อน

เช่น ภาพรวมของบ้าน วัสดุ ผิวพื้น ผิวผนัง หรือ หน้าตาของเฟอร์นิเจอร์

แต่แสงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้

เลยอาจจะโดนละเลย เพราะ เข้าใจได้ยาก

วันนี้ Lamptitude จะนำ 7 ข้อผิดพลาด

ที่ลูกค้านำมาปรึกษามากที่สุด ตลอด 10 กว่าปีที่ให้บริการมาเล่าให้ฟัง

 

 

1. ห้องทานอาหาร สว่างจ้า ไม่มีมิติ

จากห้องทานอาหารที่สุดแสนโรแมนติค

โต๊ะราคาแพงที่คัดสรรเป็นอย่างดี ของตกแต่งสุดหรู โคมไฟสวยๆ

สุดท้ายพอเปิดไฟ ห้องทานอาหารในฝัน กับสว่างจ้าเป็นโรงเจ

คนส่วนมากที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องแสงมาก่อน

เวลาซื้อหลอดไฟ จะเลือก watt สูงๆไว้ก่อน 

เพื่อให้มั่นใจว่า สว่างพอแน่ๆ

แต่ท้ายที่สุด กลายเป็นห้องที่สว่างเกินความต้องการ

 

Solution

เปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นหลอดที่ดิมได้ และ เปลี่ยนสวิทช์เป็น Dimmer

เปลี่ยนโคมเหนือโต๊ะ เป็น โคมที่วัสดุด้านบนทึบ

สามารถกดแสงลงมาทิศทางเดียว

2 วิธีนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศให้ห้อง

และทำให้ห้องที่ดูแบน มีมิติขึ้นมาทันที

 

2. มองไม่เห็นอาหารที่กำลังทำอยู่

 

ห้องครัวส่วนใหญ่วางแบบโดย Downlight อย่างเดียว

แน่นอนแสงสว่างโดยรอบเพียงพอต่อทั้งห้อง

แต่พอถึงตอนใช้งานจริง 

ดันไม่มี Task Light ที่จะให้แสง ที่จุดทำอาหาร

คนทำอาหารยืนหันหน้าเข้าเคาน์เตอร์ 

ต้นกำเนิดแสงสว่าง (โคม) มาอยู่ด้านหลัง 

ศรีษะบล็อคแสงที่ส่องเข้ามา

ทำให้เกิดเงาขณะทำอาหาร

สุดท้ายแสงไม่พอ คนทำอาหารอาจจะหยิบเกลือ ผิดเป็นน้ำตาลก็เป็นไปได้

Solution

ใช้ไฟผนัง หรือ นีออนมาติด ที่บริเวณเคาน์เตอร์ เหนือจุดทำอาหาร

หากเจ้าของบ้านไม่อยากวุ่นวายเรื่องเดินสายไฟใหม่

สามารถหาโคมที่เป็นแบบเสียบปลั๊กได้มาใช้

 

3. โคมใหญ่ หรือ เล็ก เกินไป

หลายครั้งที่เราโดนกลยุทธ์ทางการตลาด

รีบเร่งให้เรารีบตัดสินใจซื้อของทันที

ทำให้เจ้าบ้านซื้อของมาโดยไม่ได้วัดขนาดสินค้าก่อน

ซึ่งส่งผลให้ โคมใหญ่เกินโต๊ะอาหาร

หรือ เล็กไปสำหรับห้องขนาดใหญ่

Solution

จริงๆแล้วมีหลายสูตรในการกะขนาดของโคม

ส่วนตัวผมแนะนำให้เอาโคมที่มีทราบขนาดแล้ว

เอากล่องกระดาษมาตัด หรือ ใช้ตลับเมตร

มาวางในจุดที่เราจะใช้ 

เพื่อเทียบว่า เล็กหรือใหญ่ไปสำหรับโต๊ะอาหาร

หรือ เหมาะสมกะขนาดของห้องหรือไม่

 

4. แสงเดียวทำได้ทุกอย่าง

ไม่มีแสงไหนทำหน้าที่ได้ครบทุกฟังค์ชั่น

สูตรสำเร็จ ห้อง 4 เหลี่ยม ดาวไลท์ 4 ดวง กลางห้อง เว้นระยะเท่าๆกัน

แน่นอนแสงสว่างเพียงพอสำหรับการใช้งาน

แต่ห้องที่ออกมาจะแบน ไม่มีมิติ ห้องจะดูแห้งๆ

 Solution

สร้างชั้นบรรยากาศแสง 

โดยเล่นกับ Accent, Ambient, Task, Decorative Lighting

สามารถทบทวน 4 แสงได้ที่

http://lamptitude.myshopify.com/blogs/lighting-content/4

 

5. ใช้สีแสงผิด temperature

 

ลูกค้าซื้อใคมไฟ โดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องสีของหลอด
ใช้สีเดียวทั้งบ้าน ทั่วทุกห้อง

เช่น ห้องที่ต้องใช้ความตื่นตัว ในการทำงาน

โต๊ะทำงาน ห้องออกกำลังกาย
กลับใช้แสงสีส้ม ซึ่งสร้างบรรยากาศการพักผ่อน

กลับกัน ห้องนอนที่ต้องการความสงบ

กับใช้แสงสีขาวสว่างจ้า

กระตุ้นให้เกิดพลังงาน


Solution

เปลี่ยนสีของแสงให้เหมาะ กับการใช้งานของห้อง

แสงส้ม - ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ 

เเสงขาว - โรงจอดรถ ห้องทำงาน ห้องฟิตเนส

 

6. คบคนให้ดูหน้า ซื้อโคมให้ดูหลอด

 

ณ ปัจจุบัน มีโคมมากมายจัดจำหน่ายอยู่ในตลาด

ยิ่งเทคโนโลยีไปไกลเท่าไหร่ โคมแปลกๆก็ยิ่งออกมามากมายยิ่งขึ้น

โคมเปลี่ยนสีได้  โคมที่เปิดเพลงได้ หรือ แม้กระทั่งโคมที่ถ่ายวีดีโอได้

เจ้าของโคมอาจจะตื่นตากับเทคโนเลยี่ใหม่ๆ

โดยลืมสังเกตุว่า หลอดที่ใช้คู่กะโคมคืออะไร 

มีขายอยู่ในท้องตลาดหรือไม่ 

หากหลอดเสีย จะหาซื้อได้ที่ไหน

สุดท้ายหิ้วกลับบ้านมาโดยไม่รู้ว่าจะมีหลอดเปลี่ยนใหม

Solution

ในการเลือกซื้อโคม ควรจะสังเกตุหลอดที่ใช้ด้วย

หาซื้อได้ตามท้องตลาด

เช่น หลอดที่ให้แสง Ambient ->  E27 หรือ E14

หลอดให้แสง Accent/Task -> MR16 GU10

และ หลอดที่ให้แสง Accent สำหรับฝ้าสูงกว่า 3.5 เมตร -> AR111

7. Glare ทำร้ายสายตาคุณโดยไม่รู้ตัว

 

Glare คือ แสงที่มากเกินไปที่ส่งผลต่อการมอง

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยในบ้าน

เช่น การจัดตำแหน่งโคมเหนือโต๊ะอาหารที่ไม่ถูกวิธี หรือ เลือกโคมไม่ถูกชนิด

ทำให้การนั่งทานอาหารแล้วรู้สึกแสงแยงตา 

อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ 

ติดตั้งดาวไลท์เหนือเตียงนอน องศาตรงกับดวงตาขณะนอน

ทำให้แสงส่องตรงมาที่ตาขณะนอนบนเตียง

Glare ในบ้านถูกตั้งชื่อว่า Discomfort Glare

หรือ แสงแยงตาที่ทำให้การมองรู้สึกไม่สบาย

แสงแยงตาทำให้ดวงตาเราเหนื่อยล้าไม่รู้ตัว

Solution

หากไม่สามารถเปลี่ยนจุดติดตั้งไฟได้ (เพราะออกแบบไปแล้ว)

เจ้าของบ้านสามารถเลือกโคมที่ปิดจุดกำเนิดแสง

(โคมชนิดที่กั้นไม่ให้เห็นหลอด)

หรือ

หากอยู่ในช่วงออกแบบ

เจ้าของบ้านอาจเลือกซ่อนไฟในหลืบ

เหนือเตียงตรงที่นอนแทน

เพื่อป้องกันการเห็นต้นกำเนิดของแสง

ถ้าต้องการคำแนะนำ หรือ ปรึกษา

เรื่องการออกแบบแสง

สามารถ add line id : @lamptitude

(มี @ นำหน้านะครับ)

 

Written by Ko lamptitude

More stories

4 Basic Lighting Design

 "Artist paint their picture with brush but we paint your home with LIGHT."  (ศิลปินรังสรรค์ผลงานด้วยแปรง เราสร้างสรรค์บ้านคุณด้วยแสง) ตอนเด็กๆ...

8 Basic Lighting words that you should understand

Lighting Design is how we craft Light and Darkness into reality   ที่ใดมีความมืด ที่นั้นย่อมมีแสงสว่าง การออกแบบแสง คือ การใช้ความชำนาญในการผสม แสง...